วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 10/01/2554

การอ้างอิง (citing)
-หลักการลงรายการส่วนต่างๆของบรรณานุกรม
-รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม
ทำไมต้องอ้างอิง
-เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของผู้อื่น
-เพื่อบอกที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้
-เพื่อป้องกันการกระทำอันอาจเป็นโจรกรรมทางวิชาการ
-เพื่อแสดงถึงความน่าเชื่อถือ
-เพื่อแสดงมรรยาทในการทำงานวิชาการ
การลงรายการบรรณานุกรม: ผู้แต่ง
1.ผู้แต่งคนไทย
ตัดคำนำหน้าชื่อออก  เขียนแต่ชื่อกับนามสกุล ยกเว้นเชื่อพระวงศ์
2.ชาวต่างชาติ ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ  ใส่ชื่อ คั่นด้วยเครื่องหมาย ตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้น และชื่อกลาง ใส่นามสกุลขึ้นก่อนตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคหรือเครื่องหมายคอมม่า เช่น
Holzman,R.
Panyarachun,A.
Sharp,G.D
3.ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน  ใส่ชื่อบุคคลตามที่ปรากฏในเอกสาร โดยเริ่มจากหน่วยงานย่อยไปหาหน่วยงานใหญ่
-คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น (เอาหน่วยงานที่เล็กขึ้นก่อน)
-สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-American Sociologgical Association.
4.ผู้แต่งมากกว่า 2-5 คน ใส่ชื่อทุกคนโดยใส่เครื่องหมายคอมม่าคั่น ก่อนคนสุดท้ายใส่ (และ &)
5.เกิน 5 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกและตามด้วนคนอื่นๆ
การลงรายการบรรณานุกรม : ชื่อเรื่อง
1.ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ
ให้ใส่ชื่อเต็มตามที่ปรากฏในเอกสาร
2.มีชื่อเรื่องย่อย ให้เครื่องหมายโคลอนคั่นระหว่างชื่อเรื่องใหญ่: ระหว่างชื่อเรื่องย่อย
การลงรายการบรรณานุกรม : การพิมพ์
1.ครั้งที่พิมพ์  ให้ใส่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป หากมีข้อความระบุการปรับปรุงแก้ไข ให้พิมพ์ตามทั้งหมด
-พิมพ์ครั้งที่ 2/2 nd ed.
-พิมพ์ครั้งที่ 6/6
Ed. Edition  ครั้งที่พิมพ์
2.สถานที่ที่พิมพ์ ใส่ชื่อเมือง จังหวัด  ถ้ามีหลายเมืองใส่ชื่อแรกเท่านั้น
-(ม.ป.ท.) หรือ (n.p)  ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์
3.สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์  ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ /โรงพิมพ์  ตัดคำว่าบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดออก
-n.p. nopublisher
4.ปีที่พิมพ์ ใส่เลขระบุปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ใส่เฉพาะตัวเลขใน( ) ต่อจากชื่อผู้แต่งเช่น
-ประเวศ วะสี.(2541)
-(ม.ป.ป.)  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์วารสาร
-ปีพิมพ์
-ปีที่   ฉบับที่  และเลขหน้า เช่น
-2(3), 5-21.
-15,17-23. (กรณีไม่ระบุฉบับที่)
-(87), 3-16. (กรณีไม่ระบุปีที่)
-32 (September), 145-51 (กรณีไม่ระบุชื่อแต่ระบุเดือน)
 หนังสือทั่วไป
-ผู้แต่ง 1 คน
ชื่อผู้แต่ง.(ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ประเวศ  วะสี. (2547). กระบวนการนโยบายสาธารณะ.พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ
: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
Patten,C.(2005). Not quite the diplomat: home
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจ. (2538). กรุงเทพฯ
หนังสือแปล
ชื่อผู้แต่งดั้งเดิม.(ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือฉบับแปล.(ชื่อผู้แปล,ผู้แปล)
บทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ.(ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร,ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
-เกริกเกียรติ  พิพัฒน์เสรีธรรม. (2549). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย.
       วารสารราชบัณฑิตยสถาน , 31(4), 1104-1136.
ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
-อ้างข้อมูลจากเว็บไซต์ ไม่ควรอ้างจากโฮมเพจ หรือหน้าเมนูเพจ
-การพิมพ์ที่อยู่ URL หากพิมพ์ไม่พอ ขึ้นบรรทัดใหม่ให้ใช้เครื่องหมาย /
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ , จาก........
เฉลิม   อยู่ประจำ. (2553). งานคือเงินเงินคืองานบันดาลสุข
              ค้นเมื่อ 11 กันยายน  2553,  จาก http://www.abudabi.net.
               Index.php/o12%sf
การเขียนอ้างอิงฐานข้อมูล
   ผู้แต่ง.  (ปี).  ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร ปีที่ (ฉบับที่) : เลขหน้า (ชื่อฐานข้อมูล หมายเลขบทคัดย่อ)
         Thebergien A., et. al.  (2001).  An Analysis of science teaching in
                     secondary school.  Science Education  85 (3) : 483-509 (ERIC
                     NoEj385497)

บรรณานุกรม

บรรณานุกรมจากหนังสือ
ฉลองศรี  พิมลสมพงศ์.  (2554).  การจัดบริการอาหารและเครื่องดื่ม. 
             พิมพ์ครั้งที่2.  กรุงเทพฯ:  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.



บรรณานุกรมจากหนังสือ
วิณีนารถ  พันธุ์วุฒิ.  (2553)  การจัดเลี้ยง.  พิมพ์ครั้งที่3. 
                กรุงเทพฯ:  อักษรสัมพันธ์จำกัด.

บรรณานุกรมจากวารสาร
ทรงสรรค์  นิลกำแหง.  (2553).  รูปแบบการจัดเลี้ยง. 
               วารสารไทย,  31(113),  29 – 31.



บรรณานุกรมจากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ต้นกำเนิดการจัดเลี้ยง.  (2554).  ค้นเมื่อ  27  มกราคม  2554, 
               จาก  http://en.wikipedia.org/wiki/ 
               Catering#Event_catering


บรรณานุกรมจากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนการจัดเลี้ยง.  (2554).  ค้นเมื่อค้นเมื่อ  3  กุมภาพันธ์  2554, 
        จาก  http://www.readyviva.com/details.php?id=117   


หัวข้อต่างๆในการทำโปรเจ็ก การจัดเลี้ยง

1.บทนำ
    1.1ต้นกำเนิดการจัดเลี้ยง
    1.2รูปแบบในการจัดเลี้ยง
           1.2.1การจัดเลี้ยงในงานแต่งงาน
           1.2.2การจัดเลี้ยงทั่วๆไป
2.ความรู้เกี่ยวกับรายการอาหารและเครื่องดื่ม
    2.1การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
    2.2ประเภทและรูปแบบของการบริการอาหาร
  3.ขั้นตอนการจัดเลี้ยง
    3.1สถานที่จัดเลี้ยง
    3.2ขั้นตอนและข้อกำหนดในการจัดงานเลี้ยง
    3.3การบริการอาหารในการจัดงานเลี้ยง

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

lecture 3 / 01 /54

วันนี้อาจารย์สอน
เกี่ยวกับการจัดพิมพ์เนื้อหาโปรเจ็ก
การตั้งค่าหน้ากระดาษ
การใช้ฟอนด์
การพิมพ์เนื้อหา